User Online ( 14 ) 
 Member Area  Bookmarks  Confirm Payment
 Shopping Cart ( 0 Item ) 
Home » 5S และ Visual Control
 
 ค้นหาสินค้า
 Production Visual Display (7)
 Andon Board & System (1)
 Digital Clock (1)
 LED Counter (2)
 LED Display Module (1)
 Message Display (1)
 Temperature Display (2)
 
 หน้าพิเศษ
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 หน้าพิเศษ

5S และ Visual Control

ความหมายของ 5S & Visual Control ความหมายและประโยชน์ กิจกรรม 5 ส กิจกรรม 5 ส เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบ และการทำความสะอาดในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน บ้านที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ทำงาน เป็นต้น เพื่อให้สถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่มีความเป็นระเบียบ สะอาด มีความปลอดภัย มีบรรยากาศที่ดี ทำให้ทุกคนมีความสุขที่อยู่ในสถานที่นั้น เพราะมองไปทางไหนก็สะอาด สิ่งของต่างๆเก็บอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และที่สำคัญไม่มีใครได้รับอุบัติเหตุจากสถานที่นั้น ความเป็นมาของกิจกรรม 5ส กิจกรรม 5 ส เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ทุกคนจะทำเป็นประจำวันทุกวัน ถือเป็นนิสัยของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ที่ต้องการให้สถานที่โรงเรียน บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว หรือที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่มีความเป็นระเบียบและสะอาดอยู่เสมอ เช่น โรงเรียนจะต้องสะอาดไม่มีขยะหรือเศษกระดาษตามพื้นห้องเรียนหรือพื้นนอกห้อง เรียน หรือบริเวณต้นไม้ ในห้องน้ำเมื่อทุกคนเสร็จภารกิจแล้วต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย บันไดต้องมีการแบ่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทางขวามือเป็นทางขึ้น ทางซ้ายมือเป็นทางลง เพื่อให้ผู้เรียนขึ้นลงได้สะดวกไม่เสียเวลาไม่ชนกันจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนป้ายประกาศจะต้องมีการสะสางเอกสารที่ติดป้ายไว้นานแล้วออก แล้วนำเอกสารใหม่มาติดอยู่ตลอดเวลา การกระทำที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำกิจกรรม 5ส สำหรับประเทศไทยได้รับกิจกรรม 5 ส มาจากประเทศญี่ปุ่น โดยคำว่า 5 ส มาจากพยัญชนะตัวแรก ในภาษาไทยที่แปลมาจากคำในภาษาญี่ปุ่นซึ่งเป็นองค์ประกอบของ 5 ส ได้แก่ • สะสาง (Seiri) การแยกประเภทสิ่งของต่างๆ • สะดวก (Seiton) การจัดระเบียบ • สะอาด (Seiso) การทำความสะอาด • สุขลักษณะ (Seiketsu) การรักษามาตรฐาน • สร้างนิสัย (Shitsuke) การสร้างระเบียบวินัยแก่ตนเอง องค์ประกอบกิจกรรม 5ส ในระดับนี้เราจะมาเรียนรู้กันเพียง 3 ส แรกเท่านั้น คือ • ส . สะสาง (Seiri อ่านว่า เซ - ริ ) • ส . สะดวก (Seiton อ่านว่า เซ - ตง ) • ส . สะอาด (Seiso อ่านว่า เซ - โซ ) จากนี้เราจะมาเรียนรู้ความหมายของ 3 ส ว่าคืออะไร มีวิธีการทำอย่างไร เพื่อให้สถานที่ต่างๆ มีความเป็นระเบียบ มีความสะอาด เพื่อช่วยกันทำให้บรรยากาศในโรงเรียน บ้าน ที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ดี นำไปสู่สุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี เทคนิคการทำกิจกรรม 5 ส • ส . สะสาง (Seiri) หมายถึง การแยกระหว่างของที่จำเป็นและของที่ไม่จำเป็น และกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป ผู้เรียนดูภาพข้างล่าง ซึ่งเป็นภาพภายในบ้านที่จัดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วผู้เรียนลองคิด ว่าจะเกิดปัญหาอะไรบ้างผู้เรียนสังเกตภาพภายในบ้านนี้ จะพบว่า • มีสิ่งของต่างๆเก็บไว้จำนวนมากโดยไม่รู้ว่าสิ่งใดสามารถใช้ได้หรือสิ่งใดไม่สามารถใช้ได้แล้ว • พื้นที่คับแคบเพราะมีสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หนังสือ วางเกะกะจนไม่มีทางเดิน ดัง นั้นถ้าบ้านของผู้เรียนมีลักษณะแบบนี้ แสดงว่าบ้านของเราจัดไม่เป็นระเบียบมีสิ่งของต่างๆวางไว้เต็มบ้าน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่างๆ เช่น เสียพื้นที่ภายในบ้าน เสียเวลาในการหาของ เสียค่าใช้จ่ายในซื้อตู้ ชั้นต่างๆเพื่อนำมาเก็บสิ่งของ เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นการจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไปต้องมีการทำ ส . สะสาง เพื่อให้เรามั่นใจว่ามีแต่ของที่จำเป็นอยู่ในบ้านหรือในโรงเรียนของเราเท่า นั้น วิธีการทำ ส . สะสาง ต้องเริ่มต้นจากการนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป จากพื้นที่นั้น สิ่งของที่ไม่จำเป็น คือ สิ่งของที่เราไม่ได้ใช้แล้วหรือสิ่งของที่เราไม่ได้ใช้มานานแล้ว อาจจะเกิดจากของนั้นชำรุด แตกหัก หรือหมดอายุแล้ว เช่น • เมื่อผู้เรียน ทำการสะสางแล้วพบว่าปากกาบางด้ามเขียนไม่ติดเพราะหมึกหมดแล้ว ผู้เรียนก็ต้องกำจัดปากกาที่หมึกหมดแล้วออกจากกระป๋องที่เก็บปากกา • บ้าน ของผู้เรียนรับหนังสือพิมพ์ทุกวัน ผู้เรียนต้องสะสางหนังสือพิมพ์ฉบับเก่าของเดือนที่แล้วหรืออาทิตย์ที่แล้ว ซึ่งไม่ใช่ของที่จำเป็นในเวลานั้นออกไปจากพื้นที่ โดยผู้เรียนอาจจะนำไปขายให้รถรับซื้อของเก่าที่มารับซื้อหนังสือพิมพ์ • ใน บริเวณโรงเรียน อาจมีเอกสารที่ไม่จำเป็นอยู่ในห้องพักผู้สอน เช่น เอกสารเรียนหลักสูตรเก่า คุณผู้สอนก็ต้องสะสางเอกสารที่ไม่ได้ใช้แล้วออกจากพื้นที่นั้น โดยอาจจะเก็บไว้ที่ห้องปากกาที่อยู่บนโต๊ะเขียนหนังสือมีหลายด้ามมาก ทำให้ต้องมีกระป๋องหลายใบไว้สำหรับเก็บปากกา เก็บของ หรือนำไปทำลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎระเบียบการทำลายเอกสารที่ ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น เพื่อจะได้นำเอกสารใหม่มาวางไว้ในพื้นที่นั้นแทน ไม่ต้องไปซื้อตู้ เก็บเอกสารใหม่ให้สิ้นเปลือง และไม่ต้องหาพื้นที่สำหรับจัดวางตู้ใหม่นั้น เคล็ดลับ เมื่อผู้เรียนกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากพื้นที่แล้ว ผู้เรียนต้องพิจารณาว่าจะนำสิ่งของนั้นไปทิ้งหรือไปขาย ถ้าของนั้นมีค่า เช่น รถจักรยานเก่ามากและเราไม่ได้ใช้แล้วจะนำไปขายหรือนำไปบริจาค แต่ถ้าเป็นสิ่งของที่หมดอายุแล้ว เช่น ขนมปัง ก็ต้องทิ้งไป ไม่ต้องลังเลและเสียดายสิ่งของที่ใช้ไม่ได้และสิ่งของที่ไม่ได้ใช้มานานแล้ว เมื่อ ผู้เรียนแยกสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว ก็จะเหลือแต่สิ่งของที่จำเป็น ดังนั้น สิ่งของที่จำเป็น คือ สิ่งของที่เราต้องใช้บ่อยๆหรือเป็นประจำทุกวัน เช่น แปรงสีฟัน แปรงหวีผม จาน ช้อนส้อม กระติกน้ำ สิ่งของที่ใช้ทุกอาทิตย์ เช่น หนังสือเรียนพิเศษ ที่ตัดเล็บ ชุดว่ายน้ำ หรือ สิ่งของที่นานๆใช้ เช่น กระเป๋าเดินทาง กรรไกรตัดผม เสื้อกันหนาว เป็นต้น หลักการจัดเก็บสิ่งของที่จำเป็นของที่จำเป็นต้องใช้บ่อยๆ ให้เก็บไว้ใกล้ๆตัว และสามารถได้หยิบง่ายเมื่อต้องใช้ เช่น แปรงสีฟันผู้เรียนต้องใช้ทุกเช้าและก่อนเข้านอน เมื่อผู้เรียนจะใช้ต้องหยิบง่าย ได้เร็ว จุดที่ควรสะสางสิ่งของที่ไม่จำเป็นภายในบ้าน ที่ผู้เรียนสามารถทำได้ • ตู้เก็บเสื้อผ้าและตู้เก็บของเล่น พิจารณาว่ามีเสื้อผ้าหรือของ เล่นที่ไม่จำเป็น เช่น เสื้อที่ใส่ไม่ได้แล้ว หรือของเล่นบางชิ้นชำรุด แตก เสียหายแล้วให้กำจัดออกไป จะนำไปบริจาคหรือนำไปขายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง • ชั้นเก็บหนังสือ ตู้เก็บหนังสือ ให้ผู้เรียนว่าหนังสือหรือ เอกสารใดบ้าง ที่ปีนี้ไม่ได้ใช้แล้วให้ทำการสะสางออกจากชั้นหรือตู้เก็บหนังสือ เพื่อที่จะนำหนังสือที่จะเรียนในปีนี้เก็บไว้แทนจะได้ไม่ต้องซื้อตู้หรือ ชั้นเก็บหนังสือใหม่ • ห้องนอน มีสิ่งของอะไรบ้างในห้องนอนของผู้ เรียนที่ไม่ได้ใช้แล้ว เช่น ตุ๊กตา หนังสือการ์ตูน เป็นต้น ให้นำออกจากห้องนอน เพื่อจะได้มีพื้นที่ห้องนอนกว้างขึ้น • โต๊ะทำการบ้าน มีปากกา ดินสอสี กระดาษ ทั้งที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้วางปะปนกันอยู่ ห้ทำการแยก และจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย • หัวใจสำคัญของการสะสาง คือ ต้องมั่นใจว่ามีแต่สิ่งของที่จำเป็นในการใช้งานเท่านั้น ประโยชน์ของการสะสาง • พื้นที่ไม่คับแคบ มีพื้นที่มากขึ้น เพราะมีการสะสางของที่ไม่จำเป็นและขจัดออกไป • ประหยัดในการซื้อตู้เอกสาร ชั้นวางของต่างๆ • บรรยากาศในบ้านดีขึ้น 2. ส . สะดวก (Seiton) หมายถึง การจัดเก็บสิ่งของต่างๆที่จำเป็นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อจำเป็นต้องใช้สิ่งของนั้นก็ สามารถค้นหาได้รวดเร็ว และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็สามารถนำสิ่งของนั้น เก็บเข้าที่ได้อย่างถูกต้อง หลังจากที่ผู้เรียนได้ทำการสะสางแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การจัดเก็บสิ่งของที่จำเป็นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกในการใช้งาน ตัวอย่างการจัดเก็บหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อผู้เรียนสะสางตู้เก็บหนังสือแล้วเหลือแต่หนังสือที่จำเป็นต่อการใช้งาน จากนั้นให้ผู้เรียนพิจารณาว่าหนังสือของเราเป็นหนังสือประเภทใดบ้าง ผู้เรียนต้องจัดประเภทของหนังสือต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ เช่น หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก็ควรอยู่ในกลุ่มหนังสือวิชาคณิตศาสตร์หนังสือ อ่านภาษาไทยก็ควรอยู่ในกลุ่มหนังสือวิชาภาษาไทย หนังสือคำศัพท์ภาษาอังกฤษก็ควรอยู่ในกลุ่มหนังสือวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น หลังจากนั้นให้ผู้เรียนกำหนดที่วางหนังสือแต่ละกลุ่ม ว่าจะวางไว้ที่ไหนของชั้นวางหนังสือโดยยึดหลักความสะดวกในการหยิบใช้งาน เช่น กลุ่มหนังสือวิชาคณิตศาสตร์ต้องใช้ทุกวัน ก็ควรจัดวางไว้ที่ชั้นระดับสายตาของเรา ซึ่งสามารถหยิบใช้ได้ง่าย ส่วนกลุ่มหนังสือที่นานๆใช้ ก็ควรเก็บไว้ในชั้นบนของชั้นวางหนังสือ สำหรับกลุ่มหนังสือที่ใช้เป็นบางครั้งและเป็นหนังสือเล่มใหญ่หรือหนามากก็ ควรเก็บไว้ที่ชั้นล่าง เมื่อมีการกำหนดที่วางหนังสือแต่ละกลุ่มแล้ว เราก็ติดป้ายบอกที่วาง เช่น นำป้ายที่เขียนว่า กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ไปติดไว้ที่ชั้นหนังสือที่สูงระดับสายตา เมื่อผู้เรียนนำหนังสือกลุ่มนี้ไปใช้ก็จะนำกลับมาเก็บไว้ที่เดิมได้อย่างถูก ต้องรวดเร็ว วิธีการทำ ส . สะดวก • กำหนดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ เราควรมีการแยกสิ่งของต่างๆให้เป็นหมวด หมู่โดยกำหนดจากวิธีการใช้งานที่เหมือนกัน หรือรูปร่างที่เหมือน เช่น ถ้าผู้เรียนต้องจัดระเบียบในตู้เย็น อันดับแรกผู้เรียนต้องพิจารณาว่าในตู้เย็นของเรามีสิ่งของใดบ้างที่ยังใช้ ได้ เช่น ถ้าตอนนี้ในตู้เย็นมีเนื้อหมู กุ้ง เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ไก่ ขนม ช็อกโกแลต ผักกาดขาว แครอท ส้มมะเขือเทศ แอปเปิล น้ำเปล่า น้ำผลไม้ ขนมปัง แตงกวา กะทิกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง นมข้นหวาน เป็นต้น ผู้เรียนต้องจัดสิ่งของดังกล่าวให้เป็นหมวดหมู่ โดยพิจารณาว่าสิ่งของประเภทเดียวกันจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ดังนี้ • กลุ่มเนื้อสัตว์ ประกอบด้วย เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อไก่ กุ้ง ไข่ไก่ • กลุ่มผัก ประกอบด้วย ผักกาดขาว แครอท มะเขือเทศ แตงกวา • กลุ่มผลไม้ ประกอบด้วย ส้ม แอปเปิล ฝรั่ง • กลุ่มขนม ประกอบด้วย ขนม ช็อกโกแลต ขนมปัง • กลุ่มน้ำ ประกอบด้วย น้ำเปล่า น้ำผลไม้ นม • กลุ่มเครื่องกระป๋อง ประกอบด้วย นมข้นหวาน ผลไม้กระป๋อง กะทิกระป๋อง การจะใช้วิธีการใดในการจัดเก็บต้องคำนึงถึงความรวดเร็วสะดวกในการค้นหา และความปลอดภัยในการจัดเก็บ ค้นหา และรักษาคุณภาพของสิ่งนั้น เช่น ผู้เรียน อาจจัดสิ่งของต่างๆในครัวโดยพิจารณาจากการใช้งาน สามารถแยกเป็น กลุ่มอาหารประกอบด้วยน้ำมัน น้ำปลา น้ำตาล เกลือ ซีอิ้วขาว กลุ่มภาชนะในการทำอาหาร ประกอบด้วยกระทะ ตะคริว หม้อ ทัพพี กลุ่มภาชนะในการรับประทานอาหาร ประกอบด้วยช้อนส้อม จาน ชาม แก้วน้ำ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน • กำหนดที่จัดเก็บสิ่งของแต่ละอย่างต่างๆ เมื่อเรากำหนดกลุ่มสิ่งของ ต่างๆแล้ว เราต้องพิจารณาสถานที่จัดเก็บ เพราะสิ่งของแต่ละอย่างมีการใช้งานและวิธีจัดเก็บไม่เหมือนกัน ดังนั้นสถานที่จัดเก็บก็แตกต่างกันเช่น ในตู้เย็นเมื่อเราจัดกลุ่มอาหารแล้ว ต้องกำหนดสถานที่จัดเก็บอาหารประเภท เนื้อสัตว์ เก็บไว้ชั้นบนหรือในช่องทำความเย็นเพราะอาหารเหล่านี้ต้องการความเย็น เพื่อรักษาอาหารไม่ให้เสื่อมสภาพ อาหารประเภทผักและผลไม้ต้องจัดเก็บไว้ชั้นล่างเพราะมีเนื้อที่ในการจัดเก็บ มาก สำหรับประเภทน้ำต้องจัดเก็บในชั้นที่อยู่ระดับสายตาเพื่อความสะดวกในการหยิบ ใช้เพราะเราต้องดื่มน้ำบ่อย เป็นต้น ดังนั้นการจะจัดเก็บสิ่งของต่างๆต้องคำนึงถึงความถี่ในการใช้ ต้องหยิบได้ง่ายและค้นหาได้รวดเร็ว • การติดป้ายชื่อตำแหน่งที่จัดเก็บ และการติดป้ายชื่อบนสิ่งของ เมื่อ กำหนดที่วางสิ่งของต่างๆเรียบร้อยแล้ว เราพบว่าอาทิตย์ต่อมาลักษณะการวางสิ่งของนั้น กลับมาสู่สภาพเดิม คือไม่เป็นกลุ่ม สิ่งของต่างๆวางไม่เป็นที่สาเหตุมาจาก เมื่อคนนำสิ่งของไปใช้แล้วไม่นำกลับมาไว้ที่เดิม เพราะลืมว่าหยิบออกมาจากที่ใดดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาคือ ต้องทำป้ายชื่อติดที่ชั้นวางสิ่งของ หรือตำแหน่งที่จัดเก็บ สิ่งของนั้น เช่น ชั้นวางหนังสือกลุ่มคณิตศาสตร์ ต้องทำป้ายติดที่ชั้นว่า “ หนังสือกลุ่มคณิตศาสตร์ ” เมื่อเรานำหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไปใช้งาน เมื่อใช้งานเสร็จแล้วได้นำมาเก็บได้ถูกต้องเพราะมีป้ายติดไว้ที่ชั้นแล้ว หรือในห้องครัวอาจจะมีลิ้นชักสำหรับเก็บอุปกรณ์รับประทานอาหาร แต่ละลิ้นชักควรจะติดป้ายว่าเป็นลิ้นชักเก็บช้อนส้อม เก็บมีด เป็นต้น ส่วนที่สิ่งของจำเป็นต้องติดป้ายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานที่ เช่น ในห้องเรียนคุณผู้สอนให้ผู้เรียนทุกคนนำแก้วน้ำมาคนละใบ และให้ไปเก็บไว้ใน ตะกร้าเก็บแก้วน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนหยิบแก้วน้ำผิด ทุกคนต้องทำป้ายชื่อติดที่แก้วน้ำว่าเป็นของใคร เป็นต้น • การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เราควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่าสิ่ง ของอยู่ในที่ที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่อยู่ต้องหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร และต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทุกคนในบ้าน ที่โรงเรียนต้องร่วมมือกันในการปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดคื เมื่อใช้สิ่งของเสร็จแล้วต้องนำกลับมาไว้ในที่เดิม การทำกิจกรรมส . สะดวกเพื่อให้ง่ายในการค้นหา เราอาจใช้ สี สัญลักษณ์ ต่างๆ ที่เรียกว่า การควบคุม ด้วยการมองเห็น เช่น ห้องสมุดอาจมีการแบ่งประเภทของหนังสือโดยใช้สี เช่น การใช้ปกหรือป้ายสีแดงสำหรับหนังสือคณิตศาสตร์ สีเขียวสำหรับหนังสือประเภทสังคมศาสตร์ สีฟ้าสำหรับหนังสือนิทาน นวนิยาย เป็นต้น ทำให้เราสามารถค้นหาดูได้ในเวลารวดเร็วเมื่อต้องการหนังสือประเภทใด หรือตัวอย่างของไฟสัญญาณการจราจร ใช้สัญลักษณ์ไฟสีเขียวหมายถึงการจราจรผ่านได้ ไฟสีแดงหมายถึงต้องหยุดการจราจร • หัวใจสำคัญของการสะดวก คือ ต้องมีที่วางสำหรับของทุกสิ่งและของทุก สิ่งต้องอยู่ในที่ของมัน ตัวอย่างจุดที่ควรทำกิจกรรม ส . สะดวก ภายในบ้าน • ตู้เก็บเสื้อผ้า ควรกำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บเสื้อผ้า เช่น เสื้อ กางเกง กระโปรง ถุงเท้า ชุดชั้นใน เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้งาน • ตู้ เย็น ควรกำหนดชั้นวางของในตู้เย็นให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงคุณภาพของอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ควรเก็บในช่องแช่เย็น ผัก ผลไม้ ควรเก็บไว้ในช่องชั้นล่าง เพื่อไม่ให้ช้ำง่าย • ห้องครัว มีสิ่งของหลายชนิดในห้องครัว เช่น หม้อ จาน แก้วน้ำ ช้อนส้อม ต้องพิจารณาว่าจะมีวิธีการจัดเก็บอย่างไร ของที่ใช้บ่อยให้เก็บใกล้ๆ ส่วนของที่นานๆใช้ให้เก็บไว้ห่างจากการทำงานในครัว • ตู้เก็บหนังสือ เรียน ควรจัดทำป้ายแสดงตำแหน่งวางหนังสือ และทำป้ายชื่อหนังสือให้ชัดเจนเพื่อง่ายในการค้นหา หรือจะใช้สีมาช่วยในการจัดเก็บ • ตู้เก็บรองเท้า ควรกำหนดที่วางรองเท้า คู่ใดใช้บ่อยให้เก็บในที่สะดวกในการหยิบใช้ ประโยชน์ของการทำ ส . สะดวก • สามารถหยิบสิ่งของต่างๆได้ง่าย และเมื่อสิ่งใดหายไปก็รู้ได้ทันที • ลดเวลาในการค้นหา สิ่งของต่างๆ • สิ่งแวดล้อมภายในบ้านดี ทำให้ทุกคนมีความสุขทั้งกายและใจ 3. ส . สะอาด (Seiso) หมายถึง การทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ห้ว่าสิ่งของหรือสถานที่ เหล่านั้นองเรียน ตู้ ชั้นเก็บเอกสาร เครื่องเล่นเทป โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งของเล่นของผู้เรียน เช่น ตุ๊กตา รถบังคับ เครื่องเล่นเกม เป็นต้น การทำความสะอาดไม่เพียงแต่ทำให้สถานที่หรือสิ่งของเหล่านั้นสะอาด แต่ยังเป็นการตรวจสอบด้วยว่าถ้าผู้เรียนสถานที่หรือสิ่งของมีการชำรุด แตกร้าว เสียหายหรือไม่และถ้าพบว่าชำรุดเสียหายเราควรรีบนำไปซ่อมแซมก่อนที่จะเสีย หายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนนำของเล่นมาทำความสะอาดแล้วพบว่าของเล่นบางชิ้นมีรอยแตก โดยก่อนหน้านี้เราไม่เห็นรอยแตกเพราะว่ามีคราบฝุ่นเกาะจับจนทำให้มองไม่เห็น เมื่อเราทำความสะอาดแล้วจะสามารถพบปัญหาเหล่านี้และรีบ นำไปแก้ไขได้ วิธีการทำความสะอาด การทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือที่บ้าน มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้ • แบ่ง พื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ เช่น ในบ้านของผู้เรียนประกอบด้วยพื้นที่ห้องครัว ห้องรับแขก ห้องน้ำ ห้องนอน สนามหน้าบ้าน ที่โรงจอดรถ เป็นต้น ถ้าให้ผู้เรียนรับผิดชอบในการทำความสะอาดห้องนอนของตนเอง ดังนั้นพื้นที่ที่ผู้เรียนต้องทำความสะอาดคือห้องนอนของตนเอง • กำหนดว่า ในพื้นที่ที่รับผิดชอบนั้นมีอะไรบ้างที่จะต้องทำความสะอาด และจัดลำดับในการทำความสะอาด เช่น พื้นที่ในห้องนอน ผู้เรียนต้องทำความสะอาดตู้เก็บหนังสือ โต๊ะเขียนหนังสือ พื้นห้อง ในการทำความสะอาดให้ปฏิบัติเรียงลำดับ ดังนี้ • ทำความสะอาดบนตู้เก็บ หนังสือก่อนเพราะมีฝุ่นเกาะบริเวณตู้และหลังตู้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นทำความสะอาดชั้นวางหนังสือภายในตู้ โดยทำจากชั้นบนลงชั้นล่างตามลำดับ การทำความสะอาดพื้นห้องทำเป็นลำดับสุดท้าย เพราะว่าฝุ่นที่เราเช็ดจากตู้จะลงมากองที่พื้น • ศึกษาวิธีการทำความ สะอาด และอุปกรณ์ที่จะทำความสะอาดให้ถูกต้อง เช่น การใช้ไม้ปัดฝุ่น จะทำให้ฝุ่นกระจายทั่วห้อง ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นจะทำให้ฝุ่นไม่กระจาย แต่ถ้าไม่มีเครื่องดูดฝุ่นควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดแทนได้ • กำหนดเวลาทำความ สะอาดในบ้านและโรงเรียนของเรา เช่น ผู้เรียนกำหนดเวลาการทำความสะอาดห้องนอนทุกวันเสาร์ และทำความสะอาดห้องเรียนทุกวันหลังเลิกเรียนเป็นต้น และต้องทำความสะอาดบ้านและโรงเรียนทุกๆวันจนเป็นนิสัย • หัวใจสำคัญของ การทำความสะอาด คือ การตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งของนั้นยังอยู่ในสภาพที่ดีถ้ามีรอยแตกรอยชำรุดให้รีบซ่อมแซม ตัวอย่างจุดที่ควรทำความสะอาด • เครื่องคอมพิวเตอร์ จะพบว่าแป้นพิมพ์มีคราบสกปรกจากมือของผู้ใช้ และมีเศษผง เศษยางลบ หน้าจอมีฝุ่นเกาะอยู่จำนวนมาก • ตู้ ชั้นวางของ ตามซอกมุม ตามชั้นวาง และบานประตูจะมีคราบฝุ่น และหยากไย่ เกาะอยู่ตามสิ่งของนั้นๆ • โต๊ะ เก้าอี้ โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องใช้ต่างๆในบ้าง จำเป็นต้องมีการขจัดฝุ่น ทำความสะอาด พร้อมกับตรวจสอบสภาพของสิ่งของเหล่านั้นไปด้วย • พื้นห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นห้องนอน พื้นห้องนั่งเล่น เป็นต้น • ของเล่นต่างๆ รถจักรยานของผู้เรียน ต้องมีการทำความสะอาดสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ใช้สิ่งของเหล่านั้นได้ในระยะเวลายาวนานขึ้น ประโยชน์ในการทำความสะอาด • ทำให้บ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานของเราน่าอยู่ • ทำ ให้สิ่งของต่างๆมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมมากขึ้น เพราะเรามีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆอย่างเสมอ ถ้าพบว่ามีการชำรุดเราสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว • ทำให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในสถานที่ หรือใช้สิ่งของนั้น มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยที่เกิดจากความสกปรก การทำกิจกรรม 5 ส เป็น กิจกรรมที่จัดความเป็นระเบียบ และความสะอาดในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นที่บ้านหรือที่โรงเรียน ประโยชน์ในการทำกิจกรรม 5 ส ได้แก่ ทำให้สถานที่นั้นน่าอยู่ สิ่งของน่าใช้ มี สภาพแวดล้อมที่ดี ทุกคนที่อยู่ในบ้านหรือในโรงเรียนที่ทำกิจกรรม 5l จะมีความสุขทั้งกายและใจ ทำให้ไม่เสียเวลาค้นหาสิ่งของต่างๆ เราจะได้เอาเวลาที่ต้องค้นหาสิ่งของนานๆนั้นไปทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และช่วยรักษาคุณภาพสิ่งของต่างๆให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ไม่ต้องเสียเงินซื้อตู้เก็บเอกสาร ตู้เก็บหนังสือใหม่ เพราะได้มีการสะสางเอกสารที่ไม่จำเป็นออกจากพื้นที่นั้นแล้ว ในช่วงชั้นนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ เฉพาะ 3 ส แรก คือ สะสาง สะดวก และสะอาด สำหรับ ส . สุขลักษณะ ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานความเป็นระเบียบและการทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง และ ส . สร้างนิสัย ซึ่งเป็นการสร้างระเบียบวินัย เพื่อปฏิบัติตามระเบียบวินัยที่กำหนด โดยที่ตนเองมีส่วนร่วมและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อระเบียบวินัยนั้น ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในช่วงชั้นที่ 2 การควบคุมด้วยการมองเห็น ( Visual Control) ความ หมายของ Visual Control โดยปกติแล้วคนเราจะ รับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้าได้แก่การมองเห็นการได้ยินการดมกลิ่นการ ชิมรสและการสัมผัสโดยผ่านอวัยวะต่างๆเช่นตาหูจมูกลิ้นและผิวหนัง ประสาทสัมผัส อวัยวะ การมองเห็น ตา การได้ยิน หู การดมกลิ่น จมูก การชิมรส ลิ้น การสัมผัส ผิวหนัง ประสาทสัมผัสที่ใช้มากที่สุดและมักจะใช้พร้อม ๆ กันในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การมองเห็นและการได้ยิน การรับสารโดยการได้ยินอย่างเดียวมีข้อจำกัดต่างๆ มากมาย เช่น ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือเสียงรบกวนอื่น ๆ อาจเป็นอุปสรรคต่อการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพูดคุยกันเฉย ๆ จะไม่มีหลักฐานอะไรหลงเหลือไว้ให้อ้างอิงได้ หากมีการถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นต่อจะผิดเพี้ยนได้ง่าย Visual Control จึงเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมากในการสื่อสารผ่านการมองเห็นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ป้าย สัญลักษณ์ แถบสี เครื่องหมาย รูปภาพ กราฟ ฯลฯ ดังคำกล่าวในสำนวนที่ว่า “ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น ” หรือ “ ภาพหนึ่งภาพแทนคำบรรยายนับพัน ” Visual แปลว่า สิ่งที่มองเห็นด้วยภาพ Control แปลว่า การควบคุม ดังนั้น Visual Control จึงหมายถึง • เทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารผ่านการมองเห็น โดย แสดงให้เห็นผลการปฏิบัติงาน เห็นความผิดปกติ หรือสื่อสารความหมายบางอย่างให้เห็นได้อย่างสะดวก ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายขึ้น Visual Controlจึงอาจอยู่ในรูปสัญลักษณ์แผ่นป้ายสัญญาณไฟแถบสีรูปภาพกราฟฯลฯ หากโลกนี้ไม่มี Visual Control ลองจินตนาการถึงสนามแข่งฟุตบอลในงานแข่งกีฬาสีที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่ • กองเชียร์ทั้งสองฝ่ายแต่งกายสีเหมือนกัน • นักฟุตบอลทีมเดียวกันแต่แต่งกายไม่เหมือนกันเลย • หรือนักฟุตบอลทั้งสองทีม รวมทั้งกรรมการแต่งกายเหมือนกันหมด • ผู้รักษาประตูใส่เสื้อแขนสั้นเหมือนนักเตะ • ที่เสื้อนักฟุตบอลแต่ละคนไม่มีหมายเลขประจำตัว • เส้นขอบสนาม เส้นแบ่งฝ่าย และเส้นเขตประตู ไม่ชัดเจน • ในสนามไม่มีสกอร์บอร์ดบอกจำนวนประตูที่แต่ละฝ่ายทำได้ • ไม่มีนาฬิกาแสดงเวลาให้นักฟุตบอลและคนดูทราบเวลาที่ผ่านไปแล้ว • กรรมการไม่ชูใบแดง ใบเหลืองให้เห็นเวลาลงโทษ (แค่ใช้วิธีพูดแจ้งให้นักเตะทราบ หรือตะโกนบอกคนดู) หรือ ลองจินตนาการถึงการเดินทางบนท้องถนนที่ • สัญญาณไฟจราจรเสีย • ไม่มีเส้นแบ่งช่องทางจราจร • ไม่มีป้ายบอกทาง • ป้ายบอกทางขึ้นทางด่วนใช้สีเดียวกับป้ายบอกทางปกติ • รถโดยสารประจำทางไม่มีหมายเลขสายรถ • รถแท็กซี่พ่นสีเหมือนรถยนต์ส่วนบุคคลปกติ และไม่มีป้ายไฟแท็กซี่ • รถแท็กซี่ไม่มีป้ายไฟที่ใช้แสดงว่ารถว่างหรือมีผู้โดยสาร • รถยนต์แต่ละคันไม่มีเลขทะเบียนรถ • รถแต่ละคันไม่เปิดไฟเลี้ยวเวลาเลี้ยว • ไฟเบรครถยนต์เสีย เวลาเหยียบเบรคแล้วไม่มีไฟเบรคขึ้น • เวลารถจอดหรือเสียอยู่ข้างถนน ไม่เปิดไฟกระพริบ Visual Control เป็นเทคนิคการสื่อสารผ่านการมองเห็นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และเห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวันทุก ๆ วันอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเทคนิคง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสาร เราจึงสามารถมองหา Visual Control ได้ในเกือบทุกสถานที่ เช่น ตามท้องถนน ในโรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ตลาด สวนสนุก พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในบริษัทหรือโรงงานต่าง ๆ สถานที่ราชการต่าง ๆ ฯลฯ เพียงแต่เราอาจไม่ได้สังเกต หรือไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควรในการนำมาขยายผลและประยุกต์ใช้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่มีโอกาสผิดพลาดและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายมาก เทคนิค Visual Control จึงเป็นเทคนิคพื้นฐานในการเพิ่ม Productivity ที่สามารถช่วยช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การประยุกต์ใช้ Visual Control ใน การเลือกและนำเทคนิค Visual Control มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในสถานที่ทำงาน อาจเริ่มจากการใช้เทคนิคง่าย เช่น เทคนิคการตั้งคำถาม 5 W 1 H เพื่อหาเหตุและผลในการประยุกต์ใช้เทคนิค Visual Control นั้น ๆ เช่น 5 W 1 H ตัวอย่างคำถาม Why หรือ ทำไม • ทำไมถึงต้องนำ Visual Control มาใช้ • ทำไมจึงเกิดความผิดพลาดหรือปัญหาต่าง ๆ ขึ้น • ทำไมถึงต้องเลือก Visual Control แบบนั้นมาใช้ • ฯลฯ How หรือ อย่างไร • จะนำ Visual Control เข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร • ความผิดพลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร • จะสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจใน Visual Control นั้น ๆ ได้อย่างไร • ฯลฯ What หรือ อะไร • สื่อหรือเทคนิค Visual Control อะไรที่ควรนำมาใช้ • อะไรบ้างที่จะเป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการใช้ Visual Control • ฯลฯ When หรือ เมื่อไร • ต้องการใช้ Visual Control ในการสื่อสารผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเมื่อไร • ความผิดพลาดต่าง ๆ มักเกิดขึ้นเมื่อไร • จะนำ Visual Control เข้ามาใช้เมื่อไร • ฯลฯ Where หรือ ที่ไหน • กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้ Visual Control อยู่ที่ไหน • จะติดตั้ง Visual Control ที่บริเวณไหนจึงจะเห็นได้ง่ายและชัดที่สุด • ความผิดพลาดต่าง ๆ มักเกิดขึ้นที่บริเวณใด • ฯลฯ Who หรือ ใคร • ใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้ Visual Control สื่อสารให้ทราบ= • ใครเป็นผู้ที่มักทำให้เกิดความผิดพลาด • ใครเป็นผู้ที่ควรนำ Visual Control ไปใช้ • ฯลฯ ตัวอย่างเช่น การนำ Visual Control และเทคนิคการตั้งคำถาม 5 W 1 H มาประยุกต์ใช้ของบริษัทนำเที่ยวแห่งหนึ่งเพื่อแก้ปัญหานักท่องเที่ยวพลัดหลง จากกลุ่ม และหลงจากมัคคุเทศก์ในระหว่างการนำเที่ยว 5 W 1 H คำถาม คำตอบ Why ทำไมนักท่องเที่ยวถึงมักพลัดหลง ในสถานที่ท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวหลายกลุ่ม และมีเสียงดังทำให้เรียกกันไม่ได้ยิน นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มไม่มีสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่ม Who ใครบ้างที่พลัดหลง และใครบ้างต้องตามหา นักท่องเที่ยวทุกคนมีโอกาสพลัดหลงจากกลุ่ม เมื่อนักท่องเที่ยวหลงจากกลุ่ม มัคคุเทศก์อาจตามหาไม่พบเนื่องจากจำนักท่องเที่ยวในกลุ่มของตนได้ไม่หมด How ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้นักท่องเที่ยวพลัดหลง ต้องมีสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มที่ทำให้นักท่องเที่ยวเห็นกลุ่มและมัคคุเทศของ ตนได้ง่ายแม้ว่าจะอยู่ไกล มีคนมากยืนบังกัน หรือไม่ได้ยินเสียงตะโกนเรียก What จะใช้ Visual Control อะไรเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ใช้สีหรือสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตนที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นนัก ท่องเที่ยวในกลุ่มของตน เช่น ให้นักท่องเที่ยวใส่หมวกและติดเข็มกลัดของบริษัท และให้มัคคุเทศก็ถือธงของบริษัท Where จะติด Visual Control ที่ไหนจึงจะเห็นได้ชัด นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องติดเข็มกลัดที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายเหมือนกัน เพื่อให้มองหาได้ง่าย และธงสีของบริษัทจะต้องติดที่ปลายไม้และชูขึ้นสูง ๆ ตลอดเพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดแม้ว่าอยู่ไกล เมื่อนักท่องเที่ยวหายจากกลุ่มก็ต้องพยายามมองสูง ๆ เพื่อหาธงของบริษัท When เมื่อไรที่ควรใช้ Visual Control ทุกครั้งก่อนลงจากรถจะต้องให้นักท่องเที่ยวใส่หมวกและติดเข็มกลัดทุกคน และมัคคุเทศก์จะต้องชูธงสีขึ้นสูงตลอดเวลาในขณะนำเที่ยว ประเภทของ Visual Control การแบ่งประเภทของ Visual Control สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ เป็นกลุ่ม • Visual Control เพื่อความปลอดภัย เช่น สัญลักษณ์ความปลอดภัยแบบต่าง ๆ • Visual Control เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เช่น ตัวอย่างลักษณะงานดี งานเสีย • Visual Control เพื่อการบริหารสินค้าคงคลัง เช่น ป้ายบอกประเภทสินค้าต่าง ๆ • Visual Control เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น ขีดบอกระดับสูงสุด ต่ำสุดของน้ำมันเครื่อง • Visual Control เพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น ป้ายโฆษณาสินค้า • Visual Control เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน เช่น กราฟแสดงผลการปฏิบัติงานของ แต่ละแผนกฯลฯ แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสื่อ Visual Control ตามลักษณะการสื่อสารของตัว Visual Control เช่น สื่อ Visual Control ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ สี สีเสื้อกีฬาสี สีประจำโรงเรียน สีธนบัตรหรือเหรียญ สีบางสีมักถูกใช้ในการสื่อความหมายที่ค่อนข้างยอมรับเป็นสากล จึงต้องควรศึกษาและระวังในการเลือกใช้เช่น สีเขียว มักใช้หมายถึง ความปลอดภัย หรือความเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นพิษหรือไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สีเหลือง มักหมายถึง ให้ระวังเพราะอาจเกิดความผิดพลาดหรืออันตรายได้ ป้ายไฟ สัญญาณไฟจราจร ป้ายไฟรถแท็กซี่ แถบสะท้อนแสงให้เห็นเวลากลางคืน ป้ายไฟบอกสถานะการทำงานของเครื่องจักร ไซเรนรถตำรวจหรือรถพยาบาล ฯลฯ การเลือกใช้สีป้ายไฟควรพิจารณาถึงความหมายของสีประกอบด้วย เช่น สีของสัญญาณไฟจราจร สัญลักษณ์ หรือหรือเครื่องหมาย เครื่องหมายจราจร ทางม้าลาย เครื่องหมายความปลอดภัย เครื่องหมายลูกเสือ เครื่องหมายบอกยศของทหาร ตำรวจ เครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ของบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งรอยขีด รอยบากต่าง ๆ เช่น การทำรอยบากที่โต๊ะที่ระยะ 1 เมตรของพ่อค้าผ้า แล้ววัดความยาวของผ้าเทียบกับรอยบากนี้เมื่อลูกค้ามาซื้อผ้า (ที่ขายเป็นเมตร) ช่วยให้ไม่ต้องใช้ไม้เมตร ภาพถ่าย หรือภาพวาด ภาพถ่ายตัวอย่างนักเรียนที่แต่งกายถูกระเบียบ ภาพถ่ายตัวอย่างอาหารในเมนูอาหาร หรือในกรณีของการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุมักใช้ภาพถ่ายความเสียหายหรือการ บาดเจ็บจริงเพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุจากการเห็น ภาพถ่ายจริง ชิ้นงานตัวอย่างจริง หรือแบบจำลอง ตัวอย่างเงื่อนแบบต่าง ๆ ในวิชาลูกเสือ ตัวอย่างเครื่องหมายลูกเสือที่โรงเรียนอนุญาตให้ใช้ แบบจำลองอาคารต่าง ๆ ภายในโรงเรียน หุ่นจำลองแสดงอวัยะต่าง ๆ ในตัวคน โครงกระดูกจำลอง ตัวอย่างเหรียญหรือธนบัตรปลอม แบบแปลน แผนผัง(อาคาร , Drawing ) ผังแสดงอาณาบริเวณบริเวณโรงเรียน แผนที่ในการเดินทาง ผังโครงสร้างองค์กร Drawing แสดงส่วนประกอบของเครื่องจักร กราฟ แผนภูมิ กราฟเส้นแสดงยอดขายของร้านค้าในเดือนต่าง ๆ กราฟแท่งแสดงจำนวนนักเรียนระดับชั้นต่าง ๆ กราฟวงกลมแสดงอัตราส่วนระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ตาราง ตารางแสดงประเภทและจำนวนเหรียญรางวัลที่ได้ในการแข่งกีฬาที่แต่ละสีได้ ตารางบอกคะแนนในสนามแข่งบาสเก็ตบอล ข้อความต่าง ๆ ป้ายชื่อโรงเรียน ป้ายคำขวัญวันเด็ก ป้ายคำขวัญประจำโรงเรียน พระบรมราโชวาทที่สำคัญ ป้ายชื่อแผนกในโรงพยาบาล ป้ายบอกทางริมถนน ป้ายรณรงค์ส่งเสริมต่าง ๆ ตัวเลข หมายเลขรถประจำทาง หมายเลขชานชาลารถไฟ หมายเลขประจำตัวที่เสื้อนักกีฬา นาฬิกาดิจิตอล สกอร์บอร์ดในสนามกีฬา เครื่องแบบ เครื่องแบบนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี ตำรวจ ทหาร พยาบาล ธงชาติหรือ ธงประจำหน่วยงานต่าง ๆ อื่น ๆ ประภาคารบนเกาะกลางทะเลหรือริมชายฝั่ง ตัวอย่างสื่อ Visual Control ตามลักษณะการสื่อสารของตัว Visual Control ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีการประยุกต์ใช้ Visual Control จริงในการสื่อสารอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนในทุกธุรกิจและทุกกิจกรรม นอกจากนี้ตัวอย่างข้างต้นยังเป็นเพียงการแบ่งประเภทตามลักษณะการสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการประยุกต์ใช้ Visual Control ให้มากขึ้นเท่านั้น ในการประยุกต์ใช้ Visual Control ในชีวิตประจำวันจริง ๆ อาจใช้สื่อ Visual Control หลาย ๆ รูปแบบผสมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสื่อสารมากที่สุด เช่น • การใช้แผนภูมิหรือกราฟในการแสดงผล จะต้องคำนึงถึงสีที่จะใช้เพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุด หรืออาจใช้รูปภาพ เช่น รูปวาดนักเรียนชายและหญิงแทนจำนวนนักเรียนชาย หญิง ในโรงเรียนแทนการใช้กราฟแท่ง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ดู • ป้ายคำขวัญรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุ อาจมีรูปอุบัติเหตุ กราฟสถิติอุบัติเหตุ และติดไฟกะพริบ เพื่อดึงดูดความสนใจโดยเฉพาะในเวลากลางคืน • เสื้อผู้รักษาประตูทีมฟุตบอลที่มีลักษณะและสีต่างจากผู้เล่นทั่วไป เช่น ใช้เสื้อแขนยาว และมักใช้หมายเลข 1 เพื่อให้คนดู กรรมการ และผู้เล่นด้วยกันเองมองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
 
Copyright ThaiDisplay.com 2010 - 2024. All rights Reserved.