User Online ( 19 ) 
 Member Area  Bookmarks  Confirm Payment
 Shopping Cart ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA)
 
 ค้นหาสินค้า
 Production Visual Display (7)
 Andon Board & System (1)
 Digital Clock (1)
 LED Counter (2)
 LED Display Module (1)
 Message Display (1)
 Temperature Display (2)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 เนื้อหาบทความ

การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA)

FMEA
การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ หรือ FMEA นั้นเป็นวิธีการในการกำหนด แนวโน้มที่จะเกิดสภาพความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ เป็นการประเมินความเสี่ยงร่วมกับความล้มเหลวแบบต่าง ๆ, ลำดับความสำคัญของสภาพการล้มเหลวขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนหรือสภาพของความล้มเหลวนั้น และในการป้องกันก็เช่นกันจะดำเนินการก่อนหลังตามความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ FMEA คือ ตาราง FMEA ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงจุดเปราะบางของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่อาจเกิดความล้มเหลวได้ นอกจากนี้ตารางนี้ยังแสดงให้เห็นถึง ระดับความเสี่ยงของความล้มเหลวแต่ละส่วน, ความจำเป็นในการแก้ไข (หรือทั้งในส่วนที่แก้ไปแล้วด้วย) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการมีความสมบูรณ์มากขึ้น ตาราง FMEA นี้แบ่งออกเป็น 16-17 ช่อง โดยในแต่ละช่องจะสอดคล้องกับข้อมูลที่ FMEA ต้องการ
FMEA เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์เชิงรุก ช่วยให้วิศวกรได้ดำเนินการป้องกันก่อนที่จะเกิดความล้มเหลวนั้นขึ้น หรือก่อนที่จะมีการปล่อยผลิตภัณฑ์หรือเริ่มกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยวิศวกรป้องกันผลกระทบด้านลบจากความล้มเหลวที่จะไปถึงมือลูกค้า เป้าหมายหลักคือการกำจัดสาเหตุของความล้มเหลวและเพิ่มโอกาสในตรวจพบก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ผลจากการที่ได้รับจากการการทำ FMEA ที่ดีจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดี คุณภาพดี มีเสถียรภาพ และแน่นอนว่าสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก
FMEA นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่ที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง น่าจะเป็น
• System FMEA แบบนี้มีใช้กันทั่วโลกเลย
• Design or Product FMEA ใช้สำหรับส่วนประกอบหรือส่วนย่อยของระบบ
• Process FMEA ใช้สำหรับกระบวนการผลิตหรือกระบวนการประกอบ
• Service FMEA ใช้สำหรับงานบริการ
• Software FMEA ใช้สำหรับงานโปรแกรมสำเร็จรูป
ในส่วนของอุตสาหกรรม Semi-conductor มีการใช้ Design หรือ Product FMEA และ Process FMEA เป็นส่วนใหญ่
แม้ว่าในปัจจุบันมี FMEA อยู่หลายรูปแบบ แต่โครงสร้างพื้นฐานและวิธีการสำหรับจัดทำนั้นยังคงเหมือนเดิม กระบวนการ FMEA แต่ละแบบต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดดังที่กำหนดในตาราง FMEA
• จัดตั้งทีม
• ทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่เกี่ยวพันกับ FMEA
• แยกผลิตภัณฑ์ออกเป็นส่วน ๆ หรือแยกกระบวนการออกเป็นขั้น ๆ
• แยกแยะและทำการประเมินทุกรายการดังนี้ หน้าที่ (Function), แนวโน้มการเกิดความล้มเหลว , ผลกระทบที่เกิดจากความล้มเหลว, สาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลว และการควบคุมการตรวจจับความล้มเหลว รวมไปถึงการป้องกันความล้มเหลวด้วย
• ประเมินความเสี่ยงของความล้มเหลวและจัดลำดับก่อนหลังตามความสำคัญ
• เริ่มทำการแก้ไขความล้มเหลวที่สำคัญ ๆ ก่อนเพื่อลดการเกิดล้มเหลว
• ประเมินผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการซ้ำอีกหนึ่งรอบ โดยเริ่มทำ FMEA ซ้ำหลังจากที่มีการดำเนินการแก้ไขและป้องกันเสร็จสิ้นไปแล้ว
• ปรับปรุง ตาราง FMEA อย่างสม่ำเสมอ
โดยแนวทางการทำ FMEA โดยละเอียดนั้นสามารถติดตามดูได้ใน FMEA Procedure guide ซึ่งเป็นแบบแผนที่มีการใช้โดยทั่วไป
ข้อมูลที่สำคัญเป็นจุดวิกฤติบนตาราง FMEA คือ Risk Priority Number (R.P.N) หรือ ตัวเลขลำดับความสำคัญ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใช้แบ่งแยกระดับความเสี่ยงของความล้มเหลว และแสดงให้เห็นความเร่งรีบในการจัดการกับความล้มเหลวนั้น
ค่า RPN เป็นผลมาจากส่วนประกอบ 3 ตัวคือ
Severity (S) เป็นความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากความล้มเหลว
Occurrence (O) เป็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุนั้นว่าบ่อยเพียงใด
Detection (O) เป็นความสามารถในการตรวจจับและป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวขึ้นได้ดีเพียงใด ดังนั้นค่า RPN เป็นดังนี้
RPN = S x O x D ซึ่งค่า S,O และ D จะถูกบันทึกอยู่ในตารางของ FMEA ด้วย
ตาราง FMEA เป็นเอกสารที่มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มทำครั้งแรกเมื่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการเริ่มขึ้นจากการออกแบบ จนกระทั่งอยู่ในสถานะที่ผลิตภัณฑ์นั้นยกเลิกใช้
เมื่อเหตุการณ์วิกฤติขึ้นจะต้องมีการปรับปรุงตาราง FMEA ให้ทันสมัย โดยกรณีที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
• เมื่อมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต้องทำการออกแบบหรือกระบวนการใหม่เพิ่มขึ้น
• เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะที่สำคัญของการทำงานในกระบวนการ เช่น parameter ต่าง ๆ เป็นต้น
• เมื่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการได้รับการเปลี่ยนแปลง
• เมื่อมีกฎระเบียบหรือกฎหมายตั้งขึ้นใหม่และกระทบต่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิต
• เมื่อมีข้อร้องเรียนจากลูกค้าในเรื่องของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิต
• เมื่อมีว่ามีความผิดพลาดขึ้นในตาราง FMEA หรือมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบปรากฏออกมา
Copyright ThaiDisplay.com 2010 - 2024. All rights Reserved.